วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์ (technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT001D.pdf.) ได้รวบรวมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
               การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็คือการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน โดยครูผู้สอนหรือผู้จัดการเรียนรู้ พยายามหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด การสอนแบบต่าง ๆ โดยครูผู้สอนอธิบายหรือป้อนความรู้ให้ฝ่ายเดียว คงเป็นแบบอย่างหรือแนวทางที่ค่อนข้างเก่าและล้าสมัยไปแล้ว ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้คิดสร้างความรู้ใหม่ ๆ เลย ครูผู้สอนมีความรู้แค่ไหนก็ถ่ายทอดให้แค่นั้น ส่วนผู้เรียนจะได้แค่ไหนก็สุดแล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน การเรียนการสอนก็รู้สึกเบื่อหน่ายทั้งครูผู้สอนและผู้เรียน เพราะมีขั้นตอนแบบเดิม ๆ เก่า ๆ ภายในห้องสี่เหลี่ยมเดิม ๆ แต่ในปัจจุบันนี้หมดยุคสมัยดังกล่าวแล้ว ครูพันธุ์ใหม่และนักเรียนพันธุ์ใหม่ ต้องร่วมกันเรียนรู้พร้อมกัน คิดสร้างสรรค์สิ่งแปลก ๆ ใหม่ร่วมกัน ร่วมคิดร่วมเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ แต่ก่อนอื่นจะต้องมาเรียนรู้กันก่อนว่า การออกแบบและการวางแผนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีกระบวนการขั้นตอนอย่างไร จะได้นาวิธีการหลักการและแนวคิดไปประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับตัวครูผู้สอน และตัวผู้เรียนต่อไป

http://eduweb.kpru.ac.th/wbi/documents/pdf/Child_Center.pdf ได้รวบรวมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
              การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อานวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี
หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ผู้สอน แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ผู้สอนยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทาความเข้าใจ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป การทบทวนบทบาทของผู้สอน ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่าแก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบการทำงานของอาจารย์ (ผู้สอน) กับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่วยด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบำบัดด้วยการใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่แตกต่างกันวิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคนเหมือนๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกันผู้สอน ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ และจากข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผู้สอนจึงต้องหันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่าการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered หรือChild Centered) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่รู้จักกันมานานในวงการศึกษาไทยแต่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ รวมกับความเคยชินที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Centered)มาตลอด เมื่อผู้สอนเคยชินกับการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ที่เคยรู้จัก จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเท่าที่ควร แต่ในยุคของการปฏิรูปการศึกษานี้ได้มีการกำหนดเป็นกฎหมายแล้วว่า ผู้สอนทุกคนจะต้องใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้ จึงเป็นความจาเป็นที่ผู้สอนทุกคนจะต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดในส่วนนี้ โดยการศึกษาทาความเข้าใจ และหาแนวทางมาใช้ในการปฏิบัติงานของตนให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อจัดสถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพผู้สอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้เรียนให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการออกแบบหรือวางแผนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน สำหรับในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบการเรียนรู้อาจทำได้หลายวิธีการและหลายเทคนิค แต่มีข้อควรคำนึงว่า ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง ได้เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่
              1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจในเนื้อหาสาระที่สนใจเป็น
ประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนหรือไม่
             2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิดได้รวบรวม
ความรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองหรือไม่ ซึ่ง ทิศนา แขมมณี (2547) ได้นำเสนอแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ ดังนี้
                 2.1 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าปล่อยให้ผู้เรียนนั่งนานๆ ในไม่ช้าผู้เรียนก็จะหลับหรือคิดเรื่องอื่น ๆ แต่ถ้าให้มีการเคลื่อนไหวทางกายบ้างก็จะทำให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัวและพร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
               2.2 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา(Intellectual Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญาต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหวต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไปทาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด
              2.3 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะมนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับอื่น และสภาพแวดล้อมต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านสังคม
              2.4 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์(Emotional Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้น เกิดความหมายต่อตนเองโดยกิจกรรมดังกล่าวควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง โดยปกติการมีส่วนร่วมทางอารมณ์นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการกระทำอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น กิจกรรมทางกาย สติปัญญาและสังคม ทุกครั้งที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเคลื่อนที่ เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรม ผู้เรียนจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกอาจเป็นความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉย ๆ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสามารถใช้ได้กับการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาเพียงแต่ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาที่ต่างกันจะมีลักษณะที่เอื้ออานวยให้ผู้สอนออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในจุดเด่นที่ต่างกัน คือ
               1.รายวิชาที่มีเนื้อหามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์และการนาเอากฎเกณฑ์ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ หรือการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำกฎเกณฑ์ที่ทำความเข้าใจได้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสอนแบบนิรนัย การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนเพราะผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตัวเอง
              2. รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลองและการอภิปรายโดยใช้หลักเหตุผล เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างความรู้เองโดยตรง เพียงแต่ผู้สอนต้องรู้จักการใช้คำถามที่ยั่วยุและเชื่อมโยงความคิด ประกอบกับการได้มีโอกาสทำการทดลองเป็นการปฏิบัติร่วมกัน ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสร้างความรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ทากันมาอยู่แล้ว
             3. รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่หลาก หลายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุให้ออกความคิดเห็นได้ เช่น วิชาสังคมศึกษา และวรรณคดีเป็นลักษณะพิเศษที่ผู้สอนจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดกิจกรรมการใช้ความคิดอภิปราย นำไปสู่ข้อสรุป เป็นผลของการเรียนรู้และการสร้างนิสัยยอมรับฟังความคิดเห็นกัน เป็นวิถีทางที่ดีในการปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน
             4. รายวิชาที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นหลักเช่น วิชาพลศึกษาและการงานอาชีพ ผู้สอนควรใช้โอกาสดังกล่าว ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทำงาน
             5. รายวิชาที่ส่งเสริมความคิดจินตนาการ และการสร้างสุนทรียภาพ เช่นวิชาศิลปะและดนตรี นอกจากจะมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ผู้เรียนยังมีโอกาสได้สร้างความรู้ และความรู้สึกที่ดี ผ่านกระบวนทำงานที่ผู้สอนออกแบบไว้ให้ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมักเป็นผู้สอนที่มีความตั้งใจและสนุกในการทำงานสอน เป็นคนช่างสังเกตและเอาใจใส่ผู้เรียนและมักจะได้ผลการตอบสนองที่ดีจากผู้เรียน แม้จะยังไม่มากในจุดเริ่มต้น แต่เมื่อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็จะสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (http://active-learning.wu.ac.th/th/detail/10016) ได้รวบรวมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไว้ดังนี้
                การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Approach) หมายถึงกระบวนการจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน เชื่อมโยง ประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้เข้ากับสังคม มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยสะท้อนจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรายวิชา หรือเลือกทำโครงงานหรือชิ้นงานตามความสนใจในขอบเขตเนื้อหาของวิชานั้นๆ ซึ่งสอดคล้องกับนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน ได้ให้ความหมายของ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือการที่ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง ตั้งแต่การวางแผนจัดระบบระเบียบ ลงมือปฏิบัติ และประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง เป็นการเรียนรู้เชิงรุก ผู้เรียนหาความรู้ได้จากเอกสาร เพื่อน แหล่งความรู้ อาจารย์ และสิ่งแวดล้อม โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน มีกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีหลักวิชาการรองรับ สร้างองค์ความรู้และประมวลความรู้ โดยผู้สอนเป็นผู้แนะนำชี้แนะ ให้แหล่งข้อมูลร่วมกัน กำหนดการเรียนการประเมินผลประเด็นการศึกษา


สรุป
             จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่าการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

ที่มา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.[Online]. http://active-learning.wu.ac.th/th/detail/10016.
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2558.
สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์.[Online]. (technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT001D.pdf). สอนอย่างไรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2558.
http://eduweb.kpru.ac.th/wbi/documents/pdf/Child_Center.pdf. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2558.

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

พรรณิดา ผุสดี.(http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ดังนี้ 
              การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
       • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
       • เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
       • โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
       • โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
       • โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
                  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม

อรธิดา ประสาร (home.kku.ac.th/uac/journal/year_17_1-4_2552/9.pdf) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ดังนี้ 
                การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาภายใต้ปรัชญาที่เห็นทุกคนมีค่าเท่าเทียมกัน ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เด็กทุกคนสามารถเรียนร่วมกันได้ โรงเรียนต้องรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดพิการเด็กคนใดปกติเด็กทุกคนจะเรียนด้วยกัน ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก โรงเรียนจะมีการเตรียมครู การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียน การจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างทั่วถึง

(https://www.gotoknow.org/posts/548117)ได้รวบรวมเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ดังนี้
ความหมายการเรียนรู้แบบเรียนรวม
                การเรียนรู้แบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
           1. เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
           2. เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
           3. โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
           4. โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
          5. โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
หลักการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
                การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้
                รูปแบบการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม

สรุป
              การเรียนรู้แบบเรียนรวม หมายถึงเป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ

ที่มา
พรรณิดา ผุสดี. [Online]. (http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10). การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
อรธิดา ประสาร. [Online]. (home.kku.ac.th/uac/journal/year_17_1-4_2552/9.pdf) .ศตวรรษใหม่แห่งการจัดการศึกษาแบบองค์รวม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
Inthu-on Oninn_lt Lt.[Online]. (https://www.gotoknow.org/posts/548117). การบูรณาการการ
เรียนรู้แบบเรียนรวม
. เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558.

การประเมินผลการเรียนรู้

สุรางค์ โค้วตระกูล (2541: 416-418) ได้กล่าวถึงการประเมินผลไว้ว่า
               การประเมินผล (Evaluation)เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นสำหรับโปรแกรมทุกอย่างของโรงเรียนตั้งแต่หลักสูตรการเรียนการสอน โปรแกรมอาหารกลางวันของนักเรียนควรจะได้รับการประเมินว่าได้ผลคุ้มอย่างไร การประเมินผลอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
               1. การประเมินผลบั้นปลายตอนจบหลักสูตร (Summative Evaluation)
การประเมินผลประเภทนี้มักจะประเมินเมื่อผู้เรียนได้เรียนจบหลักสูตรของวิชาหนึ่งๆแล้วในโรงเรียนอาจจะเป็นตอนกลางปีหรือปลายปีก็ได้ นอกจากนี้อาจจะใช้การประเมินผลแบบ Summative เมื่อมีการอบรมพิเศษ เพื่อแสดงว่าผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ตามหลักสูตร ถ้าหากผู้เรียนผ่านการสอบการประเมินผลแบบ Summative อาจจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาถ้าหากที่จะประเมินผลของการศึกษาทุกแง่ทุกมุม เช่น ทัศนคติของนักเรียน หนังสือ ตำราที่ทางโรงเรียนใช้ เวลาที่นักเรียนใช้ในการเรียนการสอนแต่ละวิชาความรู้ที่นักเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่
               2. การประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Formative Evaluation)
Scriven (1967) เป็นผู้ริเริ่มแนะนำให้ผู้ที่มีส่วนสร้างหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนใช้วิธีประเมิลผล เพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Formative Evaluation) ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อจะได้ทราบว่าหลักสูตรใช้ได้ผลดีหรือไม่ดีอย่างไร โดยประเมินหลักสูตรเป็นตอนๆ ถ้าพบข้อบกพร่องก็จะได้ดัดแปลงแก้ไขทันท่วงที ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างหลักสูตร Scriven กล่าวว่าวิธีการสร้างหลักสูตรคณะกรรมการการสร้าง หลักสูตรมักจะทำงานสร้างหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบแล้วนำออกไปใช้ในโรงเรียนโดยไม่ได้ทำการทดลองเป็นขั้นๆ ถ้าหากผู้ใช้เสนอแนะให้แก้ไขผู้สร้างหลักสูตรก็มักจะพยายามที่จะต่อต้านไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง เพราะคิดว่าได้ทุ่มเทกำลังงานไปมากแล้ว ดังนั้นถ้าหากผู้สร้างหลักสูตรจะใช้การประเมินผลแบบ Formative ประเมินผลเป็นตอนๆ ผู้สร้างอาจจะใช้ข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้ดีขึ้น
                Bloom, et. Al., (1971) ได้เสนอแนะให้ครูใช้ Formative Evaluation ในโรงเรียนเพื่อช่วยนักเรียนให้เรียนรู้ แลได้กล่าวถึงประโยชน์ของFormative Evaluation ไว้ดังต่อไปนี้
               1. ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนทราบว่าตนเองสามารถที่จะเรียนรู้จนรอบรู้ (Master) หน่วยการเรียนแต่ละหน่วยหรือไม่ โดยใช้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็จะเป็นแรงเสริมให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ต่อไป และในกรณีที่นักเรียนทำไม่ได้ครูก็จะได้ช่วยนักเรียนได้ทันท่วงที ทำให้นักเรียนซาบซึ้งในความเอาใจใส่ของครู ทำให้นักเรียนเอาใส่ในบทเรียนมากขึ้น และพยายามเรียนรู้สิ่งที่ทำไม่ได้จนรอบรู้
              2. ช่วยครูในการสอนนักเรียน เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ครูอาจจะแบ่งหน่วยของการเรียนแต่ละหน่วยออกเป็นส่วนย่อย ตามลำดับความยากง่าย เป็นต้นว่าหน่วยเรียนเกี่ยวกับการเรียนเลขเศษส่วน ครูอาจจะแบ่งหน่วยเรียนออกเป็น 10 ขั้น ตามลำดับความยากง่าย ดูว่านักเรียนแต่ละคนอยู่ระดับใด ตั้งต้นจากการบวก ลบ คูณ หาร เลขจำนวนเต็ม จนถึงการใช้เศษส่วน ความหมายของเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนเป็นต้น ถ้านักเรียน บวก ลบ คูณ หาร เลขจำนวนเต็มไม่ได้ก็ยากที่จะเรียนเลข บวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนได้ การวิจัยเกี่ยวกับนักเรียนที่ไม่มีความถนัดทางเลขพบว่า ถ้าครูพยายามช่วยโดยการแบ่งหน่วยเรียนเป็นส่วนย่อยและใช้ Formative Evaluation จะสามารถช่วยนักเรียนในการเรียนเลขได้ เพราะเมื่อนักเรียนสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยเรียนขั้นง่ายแล้วก็จะสามารถที่จะทำขั้นต่อไปโดยไม่ยากนัก
              3. ช่วยครูวิเคราะห์ว่าจุดอ่อนของนักเรียนอยู่ที่ไหน หรือปัญหาของนักเรียนที่ทำไม่ได้คืออะไร และบอกให้นักเรียนแต่ละคนทราบปัญหาในการเรียนแต่ละหน่วย และวิเคราะห์ต่อไปว่า ทำไมนักเรียนถึงมีปัญหาทำไม่ได้ บางครั้งปัญหาก็ง่ายที่จะปรับปรุงแก้ไข เช่น การเลินเล่อ อ่านโจทย์ หรือคำถามไม่ละเอียด หรือตีความหมายผิด หรือบางครั้งอาจจะเป็นเพราะความรู้พื้นฐานที่จำเป็นของนักเรียนไม่มี ไม่ว่าปัญหาของนักเรียนจะเป็นประเภทใด ถ้าทราบก็จะได้แก้ไขทันท่วงที
               4. ครูอาจจะใช้ Formative Evaluation ช่วยปรับปรุงการสอนของครู เป็นต้นว่า ถ้าหากนักเรียนทั้งห้องทำข้อหนึ่งข้อใดผิดก็แสดงว่าการสอนหรือการอธิบายของครูอาจจะไม่แจ่มแจ้ง หรือทำให้นักเรียนเข้าใจผิด ถ้าหากนักเรียนมากกว่าครึ่งห้องไม่สามารถทำได้ ก็แสดงว่าครูควรจะหาวิธีสอนหรือวิธีอธิบายหน่วยเรียนใหม่ หรือใช้ตัวอย่างหรืออุปกรณ์การสอนที่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้อย่างรอบรู้คือ สามารถทำได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
              5. Formative Evaluation ช่วยให้ทั้งครูและนักเรียนตั้งความคาดหวังสำหรับความสัมฤทธิผลของการสอบไล่ปลายปีได้ ถ้านักเรียนทราบอยู่ตลอดเวลาว่าตนทำได้ จากผลของ Formative Evaluation ก็จะตั้งความคาดหวังหรือระดับความทะเยอทะยานในการสอบไล่ไว้สูง และคิดว่าตนคงจะทำได้เป็นการช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะตั้งใจเรียนให้ดี สำหรับนักเรียนที่ทำไม่ได้ก็มีโอกาสแก้ตัว พยายามแก้ไขจุดอ่อนของตน สามารถเรียนรู้จนรอบรู้ หน่วยเรียนแต่ละหน่วยได้ทำให้มีความมั่นใจในเวลาสอบไล่
สรุปแล้วในการเรียนการสอน ถ้าหากครูจะใช้ Formative Evaluation ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถเรียนรู้จนรอบรู้ ทุกหน่วยเรียนก็จะเป็นการช่วยนักเรียนในการสอบไล่ตอนจบหลักสูตรทำให้นักเรียนมีความมั่นใจในตนเอง และไม่มีความกระวนกระวายใจมากในขณะที่สอบ ข้อสำคัญที่สุดก็คือครูไม่ควรจะให้คะแนนเวลาที่ใช้ Formative Evaluation และควรจะเน้นถึงประโยชน์ของ Formative Evaluation ให้นักเรียนทราบ


ภูมิชนะ เกิดพงษ์ (https://www.gotoknow.org/posts/181202.) ได้รวบรวมความหมายของวัดผลและการประเมินผลไว้ว่า 
                    การวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลข ปริมาณ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคล จากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสิน หรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเรียกว่าการประเมินผลการวัดผลและประเมินผลการศึกษา เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลา ซึ่งจุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผลนั้น ไม่ใช่เฉพาะการนำผลการวัดไปตัดสินได้-ตก หรือใครควรจะได้เกรดอะไรเท่านั้น แต่ควรนำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลาย ๆ ลักษณะดังนี้
              1. เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึงการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด ตอนใด แล้วครูพยายามสอนให้นักเรียนเกิดความรู้ มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของตนเอง จุดมุ่งหมายข้อนี้สำคัญมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น ปรัชญาการวัดผลการศึกษา (ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 34)
              2. เพื่อจัดตำแหน่ง (placement) การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆ โดยอาศัยกลุ่มเป็นเกณฑ์ว่าใครเด่น-ด้อย ใครได้อันดับที่ 1 ใครสอบได้-ตก หรือใครควรได้เกรดอะไร เป็นต้น การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เหมาะสำหรับการตัดสินผลการเรียนแบบอิงกลุ่ม และการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
              3. เพื่อวินิจฉัย (diagnostic) เป็นการวัดผลและประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใด เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมส่วนที่ขาดหายไปให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนเรียกว่าการวัดผลย่อย (formative measurement)
             4. เพื่อเปรียบเทียบ (assessment) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบตนเอง หรือ เพื่อดูความงอกงามของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาที่ต่างกัน ว่าเจริญงอกงามเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด เช่น การเปรียบเทียบผลก่อนเรียน(pre-test) และหลังเรียน (post-test)
              5. เพื่อพยากรณ์ (prediction) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร นั่นคือเมื่อเด็กคนหนึ่งสอบแล้วสามารถรู้อนาคตได้เลยว่า ถ้าการเรียนของเด็กอยู่ในลักษณะนี้ต่อไปแล้วการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเรื่องของการแนะแนวการศึกษาว่านักเรียนควรเรียนสาขาใด หรืออาชีพใดจึงจะเรียนได้สำเร็จ แบบทดสอบที่ใช้วัด จุดมุ่งหมายในข้อนี้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความถนัด (aptitude test) แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา (intelligence test) เป็นต้น
              6. เพื่อประเมินผล(evaluation)เป็นการนำผลที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อตัดสินลงสรุปให้คุณค่าของการศึกษา หลักสูตรหรือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร

สรุป
                 จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า การวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลข ปริมาณ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคล จากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสิน หรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
                  การวัดผลและประเมินผลการศึกษา เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลา ซึ่งจุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผลนั้น ไม่ใช่เฉพาะการนำผลการวัดไปตัดสินได้-ตก หรือใครควรจะได้เกรดอะไรเท่านั้น แต่ควรนำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลาย ๆ ลักษณะ

ที่มา
สุรางค์ โค้วตระกุล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิชนะ เกิดพงษ์. [online]. (https://www.gotoknow.org/posts/181202). การวัดผลกับการประเมินผล. เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2558.

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

เอกศักดิ์ บุตรลับ(2537 : 210) ได้กล่าวองค์ประกอบการเรียนรู้ไว้ว่า 
             องค์ประกอบที่เป็นตัวป้อนในระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนอื่นๆ หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
         1. ครู เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
         2. เรียน เป็นองค์ประกอบทีมีความสำคัญและจะขาดมิได้ เพราะถ้าหากไม่มีผู้เรียนแล้ว การสอนก็จะไม่เกิดขึ้น
         3. หลักสูตร เนื่องจากหลักสูตรเป็นสื่อกลางที่จะนำนักเรียนไปสู่จุดหมายปลายทางทีสังคมได้คาดหวังไว้
        4. สิ่งแวดล้อมทางการเรียน ได้แก่ การจัดห้องเรียน การจัดเวลาเรียน การเลือกแหล่งวิทยาการ และการบริการสนับสนุนการเรียนการสอน

ประไพ ฉลาดคิด (2548: 4-5) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการเรียนรู้ไว้ดังนี้ 

              ลองจินตนาการเป็นภาพต่อไปนี้ ในการสอนแต่ละครั้งเมื่อผู้สอนเข้ามาในชั้นเรียนน่าจะมีกิจกรรมการเรียนการสอนเกิดขึ้น นั่นหมายความว่าในห้องเรียนนั้นคงไม่ใช่ห้องเรียนที่ว่างเปล่า แต่ควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้ในชั้นเรียน
          1. ผู้สอน ผู้สอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งต่อการสอน เพราะต้องเป็นผู้รู้หลักสูตรและนำเนื้อหาสาระมาดำเนินการสอน มีการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตลอดเวลาของการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทเรียน มีทักษะกระบวนการ และมีเจตคติที่ดีตามเจตนารมณ์ของบทเรียนและหลักสูตร นอกจากนั้นครูยังต้องมีความสามารถใช้สื่อประกอบการสอน และสอนให้ตรงตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้ทำให้การสอนดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
          2. ผู้เรียน ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสอน เพราะการสอนจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีผู้เรียนเป็นผู้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้สอนจัดให้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามจุดประสงค์ของการสอนที่ตั้งไว้
          3. กิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่ง ที่มีความสำคัญมากต่อการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนนั้นออกแบบโดยผู้สอนและผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีการวัดผลและประเมิลผลตามที่ผู้สอนได้วางแผนไว้

ไพศาล หวังพานิช (2526 : 6) 
ได้กล่าวองค์ประกอบการเรียนรู้ไว้ว่า 
              การสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้ คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่เพียงใดนั้นย่อมเป็นผลโดยตรงจากการสอนเป็นประการสำคัญ ดังนั้นในการสอนแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาใดก็ตาม ควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนดังนี้
           1. จุดมุ่งหมายการสอน ก่อนจะเริ่มต้นสอนครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร แล้วกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนว่า หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว ครูผู้สอนประสงค์จะให้นักเรียนเรียนรู้อะไรบ้าง และมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง จุดมุ่งหมายในการสอนควรกำหนดให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral Objectives) ซึ่งสามารถสังเกตได้และวัดได้
          2. พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่ครูจะทำการสอนในเรื่องใด หากครูได้ทราบสภาพพื้นฐานของผู้เรียนก่อน ก็จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
          3. การเรียนการสอน เป็นขั้นตอนที่ครูจะทำการสอนในเนื้อหาวิชาจริง ๆ ครูผู้สอนอาจเลือกใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัย และสภาพพื้นฐานของผู้เรียน โดยคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วยว่า จะแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นหน่วยย่อยได้อย่างไร หน่วยย่อยใดควรสอนก่อนหรือหลัง และเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดเข้าช่วย
          4. การวัดและประเมินผล เป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบว่าภายหลังจากผ่านการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีขึ้นเพียงไร อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจหรือไม่โดยเทียบกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ครูกำหนดไว้ก่อนการเรียนการสอน

สรุป
            
               จากที่กล่าวมาทุั้งหมด สรุปได้ว่าการสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้ องค์ประกอบที่เป็นตัวป้อนในระบบการเรียนการสอน ได้แก่ 
            1. ครูผู้สอน
            2. นักเรียน
            3. กิจกรรมการเรียนการสอน
            4. การวัดผลและประเมิณผล

ที่มา
เอกศักดิ์ บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.
ประไพ ฉลาดคิด. (2548). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: เกษมศรี ซี.พี.
ไพศาล หวังพานิช.(2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพไทยวัฒนาพานิช.

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)


             http://www.neric-club.com/data.php?page=23&menu_id=76  ได้รวบรวมวิธีการสอนแบบนิเทศไว้ว่า
              เป็นวิธีสอนที่ครูให้คำแนะนำแก่นักเรียนในการปฏิบัติการเรียนรู้ที่ละขั้นตอนทั้งที่เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม นักเรียนมีโอกาสในการเรียนรู้ตามลำพัง โดยมีครูคอยช่วยเหลือ การสอนแบบนิเทศเน้นย้ำให้นักเรียนเข้าใจเทคนิควิธีการเรียนให้เกิดผลดี โดยสามารถทำได้สองแบบ คือ

1. นักเรียนเรียนรู้เป็นรายบุคคล
2. นักเรียนเรียนรู้เป็นกลุ่ม

http://narin2010.igetweb.com/articles/512814/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.html.ได้รวบความเกี่ยวกับการสอนแบบนิเทศไว้ว่า
              คือ การสอนที่ครูให้คำแนะนำแก่นักเรียนในการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยไม่ขัดกับงานหรือกิจกรรมของคนอื่นเป็นการศึกษาที่นักเรียนศึกษาเองตามลำพังที่มีครูคอยช่วยเหลือหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนโดยการแนะนำให้นักเรียนเข้าใจเทคนิควิธีเรียนที่จะให้เกิดผลดี
              ในขั้นแรกครูจะมอบงานเป็นกลุ่มและครูคอยควบคุม เมื่อนักเรียนใช้เทคนิคในการได้คล่องแคล่ว ครูจึงค่อยๆมอบงานให้ทำเป็นรายบุคคล และคอยดูแลแนะนำเป็นรายบุคคล สำหรับวิธีการศึกษาและเรียนรู้นั้นมุ่งที่จะให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองตามคำแนะนำของผู้สอนให้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ศึกษากับบุคคล เช่น ไต่ถามวิทยากร ศึกษาจากของจริง เช่น โรงเรียนทอผ้า โรงงานอุตสาหกรรม ร้านค้า ฯลฯ

สรุป
             การสอนที่ครูให้คำแนะนำแก่นักเรียนในการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยไม่ขัดกับงานหรือกิจกรรมของคนอื่นเป็นการศึกษาที่นักเรียนศึกษาเองตามลำพังที่มีครูคอยช่วยเหลือหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนโดยการแนะนำให้นักเรียนเข้าใจเทคนิควิธีเรียนที่จะให้เกิดผลดี

1. นักเรียนเรียนรู้เป็นรายบุคคล
2. นักเรียนเรียนรู้เป็นกลุ่ม

ที่มา 
http://www.neric-club.com/data.php?page=23&menu_id=76วิธีการสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan). เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558.

 http://narin2010.igetweb.com/articles/512814/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.html .วิธีการสอนเพื่อการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน. เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558.


วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

ชาญชัย อินทรประวัติ (http://www.kroobannok.com/blog/45566) ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ดังนี้
            1. การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
            2. มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
            3. ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน "No one old to learn."
            4. การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น        
                                                     
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 5) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า
            การเรียนรู้จะทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข                                 

วารินทร์ สายโอบเอื้อ (2529 : 41) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า
            การเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะคนเราเกิดมาจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตลอดชีวิตของคนเรานั้น มีการเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา เวลาหิว เวลาหนาว เรียนรู้นิสัยต่างๆในการดำรงชีวิต ตลอดจนการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้

            จากที่กล่าวมาข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ และการเรียนรู้นั้นยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข                      

ที่มา
ชาญชัย อินทรประวัติ. http://www.kroobannok.com/blog/455664 หลักการสำคัญของการเรียนรู้. เข้า              ถึงเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตร                การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
วารินทร์ สายโอบเอื้อ. (2529). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เทียนเจริญพาณิช.






วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

ประดินันท์ อุปรมัย (2540:121) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
           การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรง และประสบการณ์ทางอ้อม

 http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=31536 ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า                การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งค่อนข้างจะถาวรของผู้เรียนที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมหรือการมีประสบการณ์ทางตรง หรือประสบการณ์ทางอ้อม

http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E 0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
            การเรียนรู้ หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อม
โยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกันเกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้
            1. การรับรู้ (Reception) หมายถึง การที่ผู้คน “รับ” เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย
            2. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้
            3. การปรับเปลี่ยน (Transformation) เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า (Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี

           จากความหมายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมของเรา ที่เกิดจากการที่เราได้ผ่านการอบรม หรือผ่านประสบการณ์นั้นๆมาแล้ว ทำให้เรามีพัฒนาการรอบด้านของชีวิต เพื่อเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน และเมื่อมาเรามาเผชิญสถานการณ์แบบเดิมอีก เราจะมีวิธีเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างจากเดิม


ที่มา
           ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ 4 มนุษย์กับการเรียนรู้. พิมครั้งที่ 15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.                   .

           http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=31536. กระบวนการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ        17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E 0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C. การเรียนรู้ของมนุษย์. เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558